วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565

หัวมังกุท้ายมังกร คืออะไร

 


หัวมังกุท้ายมังกร คืออะไร


หัวมังกุท้ายมังกร คืออะไร

หัวมังกุท้ายมังกร


หัวมังกุท้ายมังกร หมายถึง ไม่กลมกลืนกัน, มีหลายอย่างหลายแบบปนเปกันไปหมด.


คำนี้ หัวมังกุท้ายมังกร มักจะพิมพ์ผิด หรือพูดผิดเป็นว่า มักจะพูดผิดเป็น “หัวมงกุฎท้ายมังกร” กันบ่อยครั้ง


คำว่าหัวมุงกุท้ายมังกรนั้น มีความหมาย เปรียบเทียบในเชิงตัวมันเองอยู่แล้วว่า 


ไม่เข้ากัน ไม่กลมกลืนกัน มีหลายอย่างปนเปกันจนหมดงาม 


     ที่มาของสำนวนนี้ ขุนวิจิตรมาตรา  หรือ กาญจนาคพันธุ์ ผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ผู้ประพันธ์เพลงต่าง ๆ

 หลายเพลง ซึ่งรวมถึงเนื้อร้องเพลงชาติไทยฉบับแรกสุดได้เขียนไว้ในหนังสือสำนวนไทย ภาค 2 ห้างหุ้น

ส่วนจำกัดรวมสาส์น วังบูรพา อธิบายความไว้ว่า หัวมังกุท้ายมังกร หมายความว่า ไม่เข้ากัน ขัดกันในตัว

 ทรวดทรงเรือนร่างต่างลักษณะไม่กลมกลืนกันตามที่ควรเป็น


มังกุ คือ เรือต่อ เป็นเรือที่มีการนำไม้มาพัฒนาเป็นเรือประเภทต่างๆ เรือที่ลำตัวยาว ทำให้มีการขับเคลื่อน

 ให้แล่นได้เร็ว และบรรทุกได้มากขึ้น กับอีกความหมายนึงคือ ชื่อสัตว์นิยายชนิดหนึ่ง 

ทำให้เข้าใจว่า คงเป็นลักษณะเรือที่มีรูปหัวสัตว์ชนิดนึง ซึ่งตามในสมัยโบราณนั้น อาจจะมีเรือบางประเภท

ที่หัวเป็นรูปหัวสัตว์แต่ท้ายเป็นหางมังกร ลำตัวยาวแบบเรือต่อ รูปร่างชอบกล แปลกๆ ดูขัดต่ไม่เข้ากัน

จึงเรียกว่า หัวมังกุท้ายมังกร เลยนำมาใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบกันว่า กับอะไรที่ไม่เข้ากันแปลกตา

นำมารวมกันแต่ไม่กลมกลืน หมดความงามกลายเป็นความแปลกว่า หัวมังกุท้ายมังกร 

ซึ่งความไม่เข้ากันอีกแบบนึงคือ ขมิ้นกับปูน ที่เป็นความเข้ากันไม่ได้เลยแบบทะเลาะ กัน คนละแบบกับ

ความไม่กลมกลืน ไม่เข้ากัน ของ หัวมังกุท้ายมังกร




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น